วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

นิเทศโรงเรียนในฝัน รุ่น 2

การนิเทศโรงเรียนในฝันรุ่น 2 ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว มีโรงเรียนที่ผู้เขียนไปร่วมนิเทศด้วย 4 โรงเรียน คือ
1. โรงเรียนชลประทานผาแตก (รับเชิญไปเป็นวิทยากรอบรมครู เรื่อง การใช้ ICT สำหรับโรงเรียนในฝัน)
2. โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่
3. โรงเรียนออนเหนือ
4. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

จากการนิเทศ เพื่อเตรียมความพร้อม พบว่า ทุกโรงเรียนมีการเตรียมความพร้อมที่แตกต่างกันออกไป คือ
- โรงเรียนชลประทานผาแตก โรงเรียนนี้ถึงแม้จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ก็มีความคึกคักที่จะเข้าร่วมโครงการ มีการเตรียมความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ เตรียมความพร้อมของบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดสิ่งแวดล้อม ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง
- โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีระบบการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานดีอยู่แล้ว มีชั้นเรียน EP ที่ชาวต่างประเทศมาสอนหลายท่าน ทำให้การเรียนของนักเรียนในโปรแกรม EP มีประสิทธิภาพสูงมาก ส่วนการจัดการเรียนการสอนในโปรแกรมปกติก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพียงแต่ส่งเสริมให้ครูหันมาใช้สื่อการเรียนการสอน ICT ให้มากขึ้น
- โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนนี้ก็เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ระดัมมัธยมศึกษา และถือเป็นโรงเรียนอันดับ 1 ของ จ.เชียงใหม่ โดยทั่ว ๆ ไป นับตั้งแต่ ผอ.ใหม่ มาบริหารงานได้มีการปรับกระบวนยุทธไปมากพอสมควร โดยเฉพาะด้าน ICT มีการลงทุนปรับปรุงคอมพิวเตอร์แบบยกกระบิ เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เมื่อมีอุปกรณ์ที่ยอดเยี่ยมอย่างนี้ ก็คิดว่าครูอาจารย์คง Happy มีกำลังใจกันถ้วนหน้า
- โรงเรียนออนเหนือ เป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างจากเมืองมากหน่อย อาณาบริเวณกว้างขวางมาก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า เป็นข้อดี หรือข้อเสียกันแน่ เพราะเพียงแค่จะทำให้พื้นที่ที่มีอยู่ทั้งหมดแลดูสะอาดสะอ้านไม่รกรุงรังก็เหนื่อยเหงื่อตกแล้ว พูดง่าย ๆ ว่าต้นทุนต่ำ ต้องลงทุนอีกมาก นี่ยังไม่รวมถึงอาคารเรียน ห้องเรียนที่ต้องมีการปรับปรุงกันขนาดใหญ่ แต่จากการประชุมร่วม ระหว่างคณะครู และกรรมการสถานศึกษา ได้รับคำยืนยันว่าทุกคน สู้ ๆ

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

นิเทศในฝัน


ช่วงนี้เดินสายไปนิเทศโรงเรียนในฝัน ของ สพท.ชม.1 ทั้งรุ่น 1 และ รุ่น 2 พบว่าในรุ่น 1 เกือบทั้งหมดโรงเรียนอยู่ในระดับทรงตัวแบบ "-" รอวันทรุด เหมือนกับเศรษฐกิจไทยในยุคนี้ (เมื่อเที่ยบกับวันประเมิน) ประเด็นที่น่าพิจารณา มากที่สุดคือ
1. ด้าน การใช้สื่อเทคโนโลยี ที่เลื่องลือว่า โรงเรียนในฝันมีสื่อเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม มี ครู-อาจารย์ สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอนได้อย่างเหมาะสม (ถ้าไม่เหมาะสมคงประเมินไม่ผ่าน) แต่จากสภาพที ไปดู พบว่า ค่อนข้างจะหยุดนิ่ง หันกลับไปสอนแบบ "คลาสิค" แปลว่า แบบดั้งเดิม ถามหาสาเหตุ คงต้องพูดกันยาว
2. ด้าน การบริหารงาน หลายโรงเรียนมีการปรับเปลี่ยน รองผู้อำนวยการ โดยเฉพาะฝ่ายวิชาการ บางโรงเรียนแทนที่จะช่วยส่งเสริม กลับมีอคติกับโรงเรียนในฝัน ไปกันใหญ่.....

บ่นแค่นี้ก่อนแล้วกัน แล้วจะกลับมาเขียนถึงโรงเรียนที่จะเข้ารุ่น 2 ต่ออีก bye.......